การเงินมิติของอารมณ์ความรู้สึก

การเงินมิติของอารมณ์ความรู้สึก

 

      

      สถานะการเงินเป็นอย่างไร นอกจากความรู้การเงินแล้ว สิ่งที่มีอิทธิพลสูงกว่าคือ ความเชื่อทางสังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม การถูกเลี้ยงดู และประสบการณ์ สร้างกรอบความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับเงิน

      หลายคนไม่คุยกันเรื่องเงินบางคนคิดว่าเรื่องเงินไม่ใช่หน้าที่ต้องรับรู้ บางคนรู้สึกลึกว่าเงินเป็นความเห็นแก่ตัว เป็นความโกง หรือเชื่อว่าคนจะรวยได้ต้องโชคดีชีวิตถูกกำหนดมาแล้ว ฯลฯ ด้วยประสบการณ์ทัศนคติเหล่านี้ จึงปิดการรับรู้ในการเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของเงิน

      เรามาดูความเชื่อ ความรู้สึกที่กำหนดทัศนคติเกี่ยวกับเงิน ทำให้เกิดการติดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันที่ส่งผลต่อสถานการณ์การเงินที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งหมดไม่มีผิด ไม่มีถูก แต่มีผลทำให้สถานการณ์การเงินไม่ไปถึงไหน ติด ๆ ขัด ๆ

 

Stage 0 – พึ่งพาผู้อื่น (Dependence)

      สำหรับคนไทยนักเรียนนักศึกษาต้องเรียนหนังสืออย่างเดียวค่าใช้จ่ายของเราเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองจนกว่าเราจะเรียนจบปริญญาตรีและทำงาน (ในบางประเทศจะพึ่งพาผู้ปกครองถึงอายุ 18 ปี) เราจึงยอมรับที่จะพึ่งพาผู้ปกครองจนกว่าจะเรียนจบมีงานทำ

      คนเกษียณที่มีความเชื่อว่า วัฒนธรรมไทยลูกกตัญญูต้องดูแลพ่อแม่ วันที่ฉันทำงาน ฉันดูแลพวกเธอ วันที่ฉันเกษียณลูกต้องดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายพ่อแม่ ก็จะไม่ให้ความสำคัญกับการออมเงินเป็นค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ เราจึงยอมรับภาวะพึ่งพาลูกหลานหลังเกษียณ

      หลายคนไม่เตรียมเงินสำรอง ลึก ๆ รู้สึกมีคนช่วย เงินไม่พอมีพ่อแม่ช่วย มีพี่น้องช่วย มีสามีเป็นหลัก มีลูกสาวเป็นหลัก ลูกเงินเยอะขอลูกได้


Stage 1 – มีหนี้ ไม่มีเงินเก็บ (Solvency)

      เป็นผู้ที่มีรายได้ สามารถดูแลค่างวดหนี้และค่าใช้จ่ายของตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพารายได้จากผู้อื่น แต่ยังคิดว่ามี Backup จากคนในครอบครัว จึงไม่ให้ความสำคัญกับการเตรียมเงินออม หรือเงินสำรองใด ๆ


Stage 2 – ไม่มีหนี้ ไม่มีเงินเก็บ (Free Debt, No Savings)

      คนกลุ่มนี้ไม่รู้สึกว่าจะต้องเป็นหลักให้กับครอบครัว ขาดเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน มีทัศนคติอาจจะยังไม่เปิดการเรียนรู้การทำงานของเงิน


Stage 3 – ไม่มีหนี้ เงินเหลือมาก (Free Debt, Lot Savings)

      คนกลุ่มนี้มีภาวะผู้นำ ความรู้สึกเป็นหลักให้คนในครอบครัว รับผิดชอบตนเอง แต่อาจจะมีทัศนคติที่ยังไม่เปิดการเรียนรู้การทำงานของเงิน หรือเข้าใจการจัดการเงินคือการออมเท่านั้น จึงขาดข้อมูลการจัดการเงินอย่างเหมาะสม

      ความเชื่อ ความรู้สึกข้างต้น กำหนดพฤติกรรมบางอย่างที่สร้างผลลัพธ์ให้เราเห็นในตอนนี้