วางแผนการเงินส่วนบุคคล

 วางแผนการเงินส่วนบุคคล

 การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ของใช้จำเป็นในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่เราต้องใช้เงินซื้อ โดยที่เราจะมีรายได้ช่วงหนึ่งและรายได้จะหยุดลง รายได้อาจจะหยุดเนื่องจากเกษียณ เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ ดังนั้นรายได้ในช่วงทำงานคือค่าใช้จ่ายปัจจุบัน ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายอนาคตไปด้วย

 คนส่วนใหญ่มักจะใช้รายได้สำหรับชีวิตปัจจุบัน ลืมวางแผนสำหรับชีวิตในอนาคต เมื่อมีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่มาจึงต้องใช้บริการสินเชื่อ ผ่อนวนไป ทำให้มีเงินไม่พอในแต่ละช่วงของชีวิต

 การวางแผนการเงิน เป็นกระบวนการบริหารจัดการเงินอย่างเป็นระบบ วางแผนล่วงหน้าก่อนการใช้ ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน ใช้ให้อยู่ในงบประมาณรายจ่ายที่มีการวางแผนและแยกเงินล่วงหน้า วางแผนค่าใช้จ่ายอนาคตทั้งที่คาดการณ์จำนวนได้และคาดการณ์ไม่ได้

 องค์ประกอบการวางแผนการเงิน

 1. วางแผนปกป้องทรัพย์สิน (Wealth Protection) การวางแผนไม่ให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเตรียมการก่อนส่วนอื่น เพื่อควบคุมรายจ่ายไม่ให้กระทบกับแผนการเงินส่วนอื่นๆ

 2. วางแผนภาษี (Tax Planning) วางแผนเพื่อจ่ายภาษีน้อยที่สุด และถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด

 3. วางแผนเตรียมค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ (Retirement Planning) คำนวณจำนวนเงินที่ต้องเตรียมพร้อม ณ วันที่หยุดทำงาน แหล่งที่มาของเงินวันที่เกษียณ และการบริหารรายได้หลังเกษียณ

 4. วางแผนการศึกษาบุตร (Education Planning) วางแผนจัดเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาของบุตร เพื่อให้มั่นใจว่ามีทุนการศึกษาให้บุตร ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน

 5. วางแผนการลงทุน (Investment Planning) วางแผนการลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของของแต่ละบุคคล และให้ได้เงินตามเป้าหมายเกษียณและเป้าหมายอื่นๆ ที่ต้องการ

 6. วางแผนมรดก (Estate Planning) รวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดทำทะเบียนทรัพย์สิน วางแผนการส่งต่อมรดกให้ตรงกับวัตถุประสงค์และเตรียมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายในวันที่ส่งต่อทรัพย์สินให้ลูกหลาน

 

กระบวนการทำแผนการเงิน

 1. เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเงิน 

 2. ร่วมกันค้นหาเป้าหมายการเงิน

 3. วิเคราะห์ข้อมูลสถานการเงินปัจจุบัน 

    3.1. วิเคราะห์อัตราส่วนการเงินดูสถานการณ์เงินทั่วไปในปัจจุบัน

    3.2. วิเคราะห์สภาพคล่องและวางแผนบริหารรายรับรายจ่าย

    3.3 วิเคราะห์โครงสร้างภาษีปัจจุบันและวางแผนภาษี

    3.4 วิเคราะห์ความเสี่ยงภัยรอบด้านและทำแผนบริหารความเสี่ยงภัย

    3.5 วิเคราะห์โครงสร้างหนี้และทำแผนปรับบริหารโครงสร้างหนี้ (ถ้ามี)

 4. วางแผนแต่ละเป้าหมาย วิเคราะห์แต่ละเป้าหมาย ร่วมกันเลือกวิธีการ ทำแผนปฏิบัติการ

 5. ร่วมกันดำเนินการแผนปฏิบัติการ

 6. ทบทวนแผนตามที่ตกลงและปรับแผนให้เหมาะสม

 

 ค่าธรรมเนียมการจัดทำแผนการเงิน

 1. ค่าธรรมเนียม 0.125% ของทรัพย์สินสุทธิ ขั้นต่ำ 30,000 บาทต่อแผน

 2. ชำระค่าธรรมเนียม 5,000 บาท ก่อนเริ่มเก็บข้อมูล ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 5 งวด

 3. ติดตามผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อปรับแผนให้เป็นไปตามสถานการณ์

 4. ปีต่อไปคิดค่าธรรมเนียมทบทวนแผนปีละ 3,000 บาท

 5. หากไม่พอใจบริการคืนเงินค่าธรรมเนียมโดยไม่มีเงื่อนไข

 ** เพื่อเป็นการสนับสุนนให้คนไทยมีการวางแผนการเงิน ปัจจุบันจึงได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการทำแผนการเงิน **

 

การได้เข้าสู่กระบวนการวางแผนการเงิน จะช่วยให้ควบคุมบริหารรายจ่ายปัจจุบันได้อย่างเข้าใจ และมีตัวเลขเป้าหมายที่ชัดเจน ช่วยให้มีทิศทางในการออมลงทุนตามระยะเวลาของแต่ละเป้าหมาย สบายใจได้ว่ามีเงินเพียงพอสำหรับแต่ละช่วงของชีวิต

 

ท่านที่สนใจทำแผนการเงิน แนะนำให้เข้าสัมมนาวางแผนการเงินการลงทุน

เพื่อมีความเข้าใจพื้นฐานที่จะช่วยให้การทำแผนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล


 สัมมนาวางแผนการเงินการลงทุน

 

 

ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนการเงินส่วนบุคคล 

กรุณากรอกข้อมูล ทีมงานจะรีบติดต่อกลับ

 

FAQ วางแผนการเงินส่วนบุคคล

คำถามที่พบบ่อยจากผู้สนใจวางแผนการเงินส่วนบุคคล

1. การวางแผนการเงินคืออะไร? เหมาะกับใคร ?
การวางแผนการเงินคือกระบวนการช่วยให้คุณจัดการรายได้ ค่าใช้จ่าย การออม การลงทุน หนี้สิน และความเสี่ยง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในชีวิต เช่น มีเงินเกษียณ ซื้อบ้าน ส่งลูกเรียน มีเงินสำรองฉุกเฉิน ฯลฯ ช่วยรับมือกับเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบกับการเงินบุคคล เช่น รายได้หยุดกระทันหัน มีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ไม่อยู่ในแผนการเงิน ฯลฯ เหมาะกับ: ทุกคนที่ต้องการจัดระเบียบการเงินให้มีทิศทาง ไม่ว่าจะมีรายได้น้อยหรือมาก
2. ต้องมีเงินเท่าไรถึงจะเริ่มวางแผนการเงินได้ ?
ไม่จำเป็นต้องรอให้มีเงินเยอะก็เริ่มได้ คนมีรายได้ประจำก็เริ่มต้นวางแผนได้เลย ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งได้เปรียบ เพราะ “เวลา” คือปัจจัยสำคัญของความมั่งคั่ง
3. ค่าใช้จ่ายในการวางแผนการเงินอยู่ที่เท่าไร? มีค่าบริการไหม ?
ขึ้นอยู่กับลักษณะของบริการ เช่น • การวางแผนการเงินเบื้องต้น ไม่มีค่าใช้จ่าย • ถ้าต้องการเริ่มต้นวางแผนแบบเข้าใจ แนะนำให้เข้าสัมมนาวางแผนการเงินพื้นฐานค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 2,500 บาทต่อวัน วางแผนด้วยตนเองได้พื้นฐาน อบรม 2 วัน • แบบจัดทำแผนเต็มรูปแบบ เริ่มต้น 30,000 บาท ติดตามผล 1 ครั้งต่อปี ครั้งละ 3,000 บาท
4. ต้องเตรียมตัวยังไงก่อนเริ่มวางแผนการเงิน ?
สิ่งที่ควรเตรียม เช่น • รายรับ-รายจ่ายต่อเดือน • ภงด.90/91 ที่ยื่นภาษีปีล่าสุด • ยอดหนี้สินคงเหลือแต่ละรายการ และค่าผ่อนรายเดือน • ข้อมูลกรมธรรม์ประกันทั้งหมด (กรมธรรม์) • บัญชีเงินฝากต่าง ๆ • เป้าหมายการเงินระยะสั้น-ยาว (เช่น ซื้อบ้าน, เกษียณ, ส่งลูกเรียน) • ทั้งนี้หากมีการนัดหมายทำแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน จะช่วยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่ชัดเจนหลังจากมีการสัมภาษณ์พูดคุยครั้งแรก
5. ถ้ารายได้ไม่แน่นอน เป็นฟรีแลนซ์ หรือเจ้าของธุรกิจ จะวางแผนการเงินได้ไหม ?
ได้แน่นอน และ ยิ่งควรทำ เพราะคนที่รายได้ไม่แน่นอนควรวางแผนเผื่อกระแสเงินสด สร้างเงินสำรองมากกว่าคนรายได้ประจำ การวางแผนการเงินจะช่วยจัดการรายจ่าย เงินออมลงทุน ได้ชัดเจนภายใต้รายได้ที่ไม่แน่นอน
6. วางแผนแล้วจะช่วยอะไรได้จริง ? จะเห็นผลไหม ?
เห็นผลแน่นอน หากคุณ ลงมือทำตามแผน • คุณจะรู้ว่าเงินของคุณหายไปไหน • มีเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น • ลดความเสี่ยงเรื่องหนี้สินและการใช้จ่ายเกินตัว • มีความมั่นคงในระยะยาว และความอุ่นใจ • การวางแผนจะช่วยให้ภาพการเงินชัดเจน มีทิศทาง
7. ข้อมูลของฉันจะถูกเก็บเป็นความลับหรือไม่ ?
แน่นอนครับ ที่ปรึกษาที่ดีจะยึดหลักจรรยาบรรณ (Confidentiality) ทุกข้อมูลที่คุณให้จะถูกเก็บไว้เป็นความลับและใช้เพื่อวางแผนการเงินให้คุณเท่านั้น
8. จะรู้ได้ยังไงว่าแผนที่ได้รับเหมาะกับฉันจริง ๆ ไม่ใช่แผนสำเร็จรูป ?
นักวางแผนที่ดีจะ “ฟัง” คุณก่อน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะตัวของคุณเพื่อออกแบบแผนที่ ปรับตามชีวิตคุณจริง ๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมว่า • ใช้หลักอะไรในการประเมิน • ทำไมแนะนำแบบนี้ • มีทางเลือกอื่นหรือไม่
9. หากเป้าหมายเปลี่ยน แผนจะต้องปรับใหม่หรือไม่?
ใช่ แผนการเงินควร ปรับตามชีวิต เช่น เปลี่ยนงาน มีลูก หย่าร้าง หรือมีเหตุไม่คาดฝัน คุณสามารถขอปรึกษาเพิ่มเติมหรือนัดทบทวนแผนเมื่อมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
10. ถ้าฉันไม่เก่งเรื่องตัวเลข จะเข้าใจแผนได้ไหม?
ได้แน่นอน นักวางแผนที่ดีจะอธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องเข้าใจง่าย แผนที่ดีควรสื่อสารให้คุณรู้สึกว่า “ควบคุมการเงินของตัวเองได้” โดยไม่จำเป็นต้องเก่งคำนวณ

คำถามยอดฮิตจากคนที่สนใจ "วางแผนการเงินด้วยตนเอง"

1. ควรเริ่มต้นวางแผนการเงินจากอะไร?
เริ่มจากถามตัวเองด้วยคำถาม 1. รู้สึกพึงพอใจกับสถานะการเงินตอนนี้ไหม? 2. วันนี้ ถ้าไม่เริ่มวางแผนการเงินแล้วจะเป็นอย่างไร จากนี้ไปอีก 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี จะเป็นอย่างไร? ถ้าคำตอบคือยังไม่พอใจ และถ้าไม่เริ่มวางแผนการเงินจากนี้ไปอีก 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี มีแนวโน้มไม่ดี เรามาเริ่มกันเลย! เริ่มจากมีรายได้ หักค่าใช่จ่ายแล้วมีเงินเหลือออมก่อน โดยการ จดรายรับ-รายจ่าย วิเคราะห์รายจ่ายแต่ละรายการจำเป็นหรืออารมณ์พาไป ค่อย ๆ ตัดค่าใช้จ่ายหมวดอารมณ์พาไปออก การจดมายจ่ายทุกวัน จะช่วยให้มีเงินเหลือ เปิดบัญชีธนาคารแยกกับบัญชีรายจ่าย เพื่อออมสะสมเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน สำรวจความเสี่ยงรอบด้าน ทำประกันคุ้มครองให้ครบ เช่น ประกันอัคคีภัย, ประกันสุขภาพ, ประกันอุบัติเหตุ ฯลฯ ระหว่างออมในบัญชีเงินสำรองฉุกเฉิน คุยกับตัวเองจากนี้ไปอีก 3 ปี 5 ปี มีเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินก้อนอะไรบ้าง เช่น มีแผนซ่อมบ้านอีก 3 ปีข้างหน้า, 5 ปีข้างหน้าต้องการเตรียมเงินเริ่มต้นทำธุรกิจ เป็นต้น เริ่มออมเงินแต่ละเป้าหมายหลังจากเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินครบ 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน ถ้าไม่มีแผนจะต้องใช้เงินก้อนใด ๆ แนะนำให้เริ่มเตรียมเงินเกษียณเลย โดยเลือกออมที่ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีก่อน เช่น PVD, RMF, ประกันบำนาญ
2. ควรแบ่งเงินเดือนอย่างไรดี?
สูตรพื้นฐานเช่น 50/30/20 หรือ 60/20/20 ช่วยให้เห็นภาพง่าย: • ค่าใช้จ่ายจำเป็น • ความสุขส่วนตัว • เก็บออม/ลงทุน (อาจปรับตามภาระหนี้และเป้าหมาย)
3. เงินสำรองฉุกเฉินควรมีเท่าไหร่?
ปกติควรมี 3–6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เช่น ถ้าใช้เดือนละ 20,000 → ควรมีเงินฉุกเฉิน 60,000–120,000 บาท ถ้าเปลี่ยนลักษณะงาน เช่น จากพนักงานมีเงินเดือนประจำ ทำงานอิสระ หรือทำธุรกิจ ควรสำรอง 12 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน
4. ถ้าไม่มีเป้าหมายชัดเจน จะวางแผนอย่างไร ?
เริ่มจากเป้าหมายพื้นฐานที่ทุกคนควรมี เช่น • มีเงินสำรองฉุกเฉิน • ไม่มีหนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อบุคคล • เริ่มตั้งเป้าหมายเก็บเงินล้านแรก เป้าหมายจะชัดขึ้นเมื่อคุณลงมือวางแผนและเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ
5. การวางแผนการเงินต่างจากการลงทุนยังไง?
การวางแผนการเงินคือการดูภาพรวมทั้งชีวิต เช่น การออม ภาษี หนี้ ประกัน เป้าหมาย การลงทุนคือ “หนึ่งเครื่องมือ” ภายใต้แผนการเงินเท่านั้น
6. ควรลงทุนอะไรดี สำหรับมือใหม่?
เริ่มลงทุนผ่านกองทุนรวมก่อน ถ้ารายได้ต้องเสียภาษี เลือกเป็นกองทุนลดหย่อนภาษี ThaiESG หรือ RMF, ตั้งตัดเงินลงทุนรายเดือนแบบอัตโนมัติ สร้างวินัยการออมลงทุนสม่ำเสมอ (Dollar Cost Average) ไม่ควรเริ่มจากหุ้นรายตัวหรือคริปโต ถ้าไม่เข้าใจความเสี่ยง
7. มีหนี้อยู่ ควรวางแผนอย่างไร?
การมีหนี้เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายจากดอกเบี้ย เริ่มจาก • สำรวจเบื้องต้น 1) ค่างวดผ่อนต่อเดือนเทียบกับรายได้ไม่ควรเกิน 40% เช่น มีรายได้ 30,000 บาท ค่างวดผ่อนต่อเดือนไม่เกิน 12,000 บาท 2) มีหนี้อะไรบ้าง บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ • ถ้ามีหนี้ดอกเบี้ยสูง ให้ปิดหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน (บัตรเครดิต/สินเชื่อบุคคล) • ถ้ามีหนี้บ้าน แต่ละเดือนรายได้หักค่าใช้จ่าย ยังมีเงินเหลือ ให้เติมค่างวดผ่อนชำระ • หยุดสร้างหนี้เพิ่ม • ทำงบประมาณรายรับรายจ่าย ก่อนเงินเดือนออกอย่างน้อย 1 วัน ตั้งรายรับ หักค่าใช้จ่ายคงที่ออกก่อน ได้แก่ ภาษี, ประกันสังคม, ค่างวดผ่อนบ้าน, ค่างวดผ่อนรถ, ค่างวดผ่อนสินเชื่อบุคคล, ฯลฯ เงินที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายคงที่แล้ว นำมาแยกเป็นค่าใช้จ่ายผันแปร ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ จดค่าใช้จ่ายทุกรายการ ใช้งบประมาณรายจ่ายที่แยกเงินเป็นค่าใช้จ่ายแต่ละเรื่องควบคุมการใช้จ่ายเกินรายได้
8. ควรซื้อประกันอะไรบ้าง?
เน้นที่ “ความคุ้มครองก่อนผลตอบแทน” เช่น • ประกันสุขภาพ • ประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง • ประกันชีวิตคุ้มครองสูง เบี้ยต่ำ • ประกันอุบัติเหตุ จากนั้นค่อยพิจารณาแบบควบการลงทุน (ถ้าจำเป็น)
9. อยากวางแผนเกษียณ เริ่มอย่างไร?
• ประเมินว่าต้องใช้เงินเดือนละเท่าไรหลังเกษียณ → ประมาณการอายุขัย (เฉลี่ยอายุปู่ย่าตายาย+10 ปี) → คำนวณยอดเงินรวม → ประเมินเวลาที่เหลือในการออมและลงทุน • สำรวจมีแหล่งเงินได้หลังเกษียณอะไรบ้าง ประมาณการออมถึงวันที่เกษียณจะกลายเป็นเงินเท่าไร เช่น บำนาญประกันสังคม, PVD, ประกันสะสมทรัพย์ที่เงินคืนหลังเกษียณ รวบรวมแหล่งเงินได้หลังเกษ๊ยรแล้วหักออก ขาดเท่าไรวางแผนการออมเพิ่ม • ลงทุนผ่านกองทุนรวม ถ้าท่านเสียภาษี เลือกกองทุนรวมที่ลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ RMF
10. ไม่มีเวลา ไม่มีวินัย ควรทำอย่างไร?
• ใช้ระบบอัตโนมัติ เช่น หักเงินออม-ลงทุนอัตโนมัติทุกเดือน • ใช้แอปจัดการการเงิน • เริ่มเล็ก ทำสม่ำเสมอ ดีกว่าทำเยอะแต่ไม่ต่อเนื่อง
11. ควรใช้กี่บัญชีถึงจะดี?
อย่างน้อย 3 บัญชี 1. บัญชีรายจ่ายประจำ 2. บัญชีรายจ่ายที่ไม่ใช่รายเดือน เช่น เบี้ยประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ฯลฯ ค่าใช้จ่ายรายปีหาร 12 ทุกเดือนที่มีรายได้ตัดเข้าบัญชีนี้พักไว้จนกว่าจะถึงรอบจ่าย 3. บัญชีเงินสำรองฉุกเฉิน
12. ภาษีเกี่ยวอะไรกับการวางแผนการเงิน ?
การวางแผนภาษี ช่วยให้เสียภาษีน้อยลงเท่ากับมีเงินออมเพิ่มขึ้น การรู้จักใช้สิทธิหักลดหย่อน เช่น ThaiESG, RMF, ประกันชีวิต, ดอกเบี้ยบ้าน ฯลฯ ช่วยให้เสียภาษีน้อยลง

คำถามที่พบบ่อย: เมื่อเริ่มต้นวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบ
1. วางแผนการเงินส่วนบุคคลคืออะไร ?
คือแผนการเงินแบบองค์รวม ครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ การปกป้องทรัพย์สิน, ภาษี, เกษียณ, การศึกษาบุตร, การลงทุน, มรดก และการบริหารหนี้ เพื่อให้ใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ
2. กลไกหรือกระบวนการวางแผนเป็นอย่างไร ?
ขั้นตอนประกอบด้วย:
1. รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลทางการเงิน
2. กำหนดเป้าหมายการเงิน
3. วิเคราะห์สถานะทางการเงิน
4. จัดทำแผนการเงินของแต่ละเป้ากมาย
5. ดำเนินการตามแผน 6. ติดตามและปรับทบทวนทุกปี
3. ทำไมต้องเน้น “ปกป้องทรัพย์สิน” ก่อนอื่น ?
เพื่อรักษาแผนการเงินให้เป็นไปตามแผน ไม่สูญเสียทรัพย์สิน จากเหตุไม่คาดคิด เช่น เหตุฉุกเฉิน เจ็บป่วย โรคร้ายแรง หรือ เสียชีวิต
4. ทำไมต้องวางแผนภาษีด้วย ?
การวางแผนภาษีช่วยลดภาระภาษีที่ต้องจ่าย โดยที่ไม่ผิดกฎหมาย เช่น ใช้สิทธิ์ลดหย่อนจากกองทุน RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ประกันชีวิต และประกันบำนาญ เป็นต้น รวมทั้งการใช้กลยุทธ์ทางภาษี เช่น การแยกหน่วยภาษี การเลือกรวมหรือแยกยื่น เป็นต้น
5. ทำไมต้องมีแผนการลงทุนเพื่อการเกษียณ ?
เพื่อเตรียมเงินที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังหยุดทำงาน โดยคำนวณจากค่าใช้จ่ายเป้าหมาย ณ วันเกษียณ หักด้วยทรัพย์สินที่จะได้รับเมื่อเกษียณ และนำจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ มาวางแผนการลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
6. การลงทุนควรเริ่มหลังจากอะไร ?
ควรเริ่มหลังจากกำหนดเป้าหมายการลงทุนและการประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมถึงการตรวจสอบสภาพคล่องว่ามีเงินที่สามารถนำมาลงทุนได้เท่าไหร่ เพื่อกำหนดพอร์ตลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมาย เช่น เกษียณ หรือส่งลูกเรียน
7. ถ้ามีหนี้ต้องจัดการอย่างไร ? สามารถวางแผนการเงินได้ไหม ?
ต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างหนี้ เช่น หนี้บัตรเครดิต ดอกเบี้ยสูง ต้องปลดหนี้ก่อน แล้วจัดโครงสร้างหนี้ที่เหลือ เพื่อให้ผ่อนชำระได้รวดเร็ว ผู้ที่เป็นหนี้สามารถวางแผนการเงินได้แน่นอน โดยการวางแผนบริหารหนี้เป็นหนึ่งในการวางแผนการเงินที่ต้องทำอยู่แล้ว
8. วางแผนมรดกมีความสำคัญอย่างไร ?
ช่วยเตรียมทรัพย์สินให้ลูกหลานอย่างราบรื่น ตรงตามความต้องการ ไม่ติดขัด เช่น การเขียนพินัยกรรม การจัดสรรภาษีมรดก
9. ต้องติดตามแผนอย่างไรบ้าง ?
ทีมผู้เชี่ยวชาญจะติดตามผลหลังจัดทำแผน และทบทวนแผนแบบปีต่อปีเพื่อปรับให้เหมาะสมกับผู้รับการวางแผน
10. ถ้าอยากเริ่มวางแผนกับผู้เชี่ยวชาญต้องทำอย่างไร?
กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม เพื่อให้ทีมงานนัดหมายเข้ารับคำปรึกษาเบื้องต้น จากนั้นทีมจะช่วยสร้างแผนกลยุทธ์ที่เหมาะกับเป้าหมายของคุณ