2. ประกันสุขภาพ ผู้ป่วยใน (IPD) หรือรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) ต่างกันอย่างไร ?
ผู้ป่วยใน (IPD) คุ้มครองเมื่อพักในโรงพยาบาลตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนผู้ป่วยนอก (OPD) ใช้เมื่อตรวจผู้ป่วยนอก พบแพทย์และกลับบ้านได้ ไม่ต้องเข้าพักในโรงพยาบาล
3. เบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอะไร ?
ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ประวัติสุขภาพ วงเงินเอาประกัน และความคุ้มครองของแต่ละแบบประกัน
4. เบี้ยขึ้นตามอายุหรือไม่ ?
ประกันสุขภาพทั่วไปเบี้ยจะเพิ่มตามช่วงอายุ ยกเว้นประกันแบบ UDR ที่ต้องซื้อคู่กับประกันควบการลงทุน (Unit-Linked)
5. ต้องตรวจสุขภาพก่อนสมัครไหม ?
ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของแต่ละบุคคล ถ้าสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีประวัติเจ็บป่วย ส่วนใหญ่จะไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ
6. ถ้าเป็นโรคก่อนซื้อกรมธรรม์ จะคุ้มครองไหม ?
โรคเรื้อรังหรือที่เป็นมาก่อนจะถูกยกเว้น หรือไม่รับความคุ้มครอง จนกว่าจะรักษาโรคนั้นหายดีแล้ว
7. ประกันสุขภาพครอบคลุมอะไรบ้าง?
ครอบคลุมการรักษาในโรงพยาบาล เช่น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าแพทย์ ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และค่าผ่าตัด โดยจะขึ้นอยู่ตามวงเงินและแบบประกันที่เลือก โปรดศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของแบบประกัน หรือปรึกษาที่ปรึกษาการเงิน
8. ประกันสุขภาพคุ้มครอง COVID-19 หรือไม่?
โดยทั่วไปประกันสุขภาพครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทุกโรค โดยจะพิจารณาตามความจำเป็นทางการแพทย์ในการเข้ารักษาพยาบาล ถ้าแพทย์มีความเห็นว่าจำเป็นต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลและมีอาการตามเงื่อนไขที่กำหนดอย่างน้อย 1 ข้อ จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
9. ทำประกันผู้ป่วยนอก (OPD) คุ้มไหม ?
ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และความกังวลของแต่ละคน โดยประกันที่มีผู้ป่วยนอก (OPD) มักจะมีค่าเบี้ยที่เพิ่มขึ้นกว่าปกติ บางคนจึงเลือกแบบที่ไม่มีผู้ป่วยนอก (OPD) เนื่องจากเป็นค่ารักษาเล็กน้อยหรือสามารถเบิกจากสวัสดิการอื่นได้
10. ประกันครอบคลุมโรงพยาบาลใดบ้าง ?
การเข้ารักษาในโรงพยาบาล สามารถเบิกค่ารักษาตามความคุ้มครองได้ทุกโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลในเครือข่ายของบริษัทประกันจะมีความสะดวกในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมากกว่า อาจไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ถ้าโรงพยาบาลไม่ได้อยู่ในเครือข่าย จะสามารถนำเอกสารมาเบิกค่ารักษาภายหลังได้เช่นกัน
11. ค่าเบี้ยเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ?
ขึ้นอยู่กับงบประมาณแลความกังวลของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 10-15% ของรายได้ เพื่อไม่ให้เกิดภาระหนักเกิน
12. สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?
ได้ ประกันสุขภาพสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท
13. ควรเลือกประกันแบบใดให้เหมาะกับเรา ?
ควรเลือกประเมินตามความเสี่ยงของแต่ละคน ประกอบกับรายได้ ภาระค่าใช้จ่าย และการวางแผนการเงินรวม ทั้งนี้ปรึกษาที่ปรึกษาการเงินเพื่อวางแผนให้ครอบคลุมและคุ้มค่า
14. ซื้อประกันสุขภาพแล้วคุ้มครองทันทีเลยไหม ?
ประกันสุขภาพจะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Wating Period) หรือบางทีเรียกว่า ระยะเวลารอคอย การเจ็บป่วยในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 30 วัน ยกเว้นบางโรคจะเป็น 120 วัน เช่น ไส้เลื่อน ต้อกระจก ต้อเนื้อ การตัดทอมซิล และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
15. ประกันสุขภาพมีกรณีไหนที่ไม่คุ้มครองบ้าง ?
เงื่อนไขข้อยกเว้น จะแตกต่างกันแต่ละบริษัทประกัน โดยส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครองความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน การรักษาเพื่อความสวยงาม โรคหรือสภาวะเกี่ยงกับการตั้งครรภ์ เป็นต้น ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
16. การผ่าตัดและส่องกล้อง ที่ไม่ต้องเป็นผู้ป่วยในคุ้มครองไหม ?
ประกันสุขภาพจะคุ้มครองการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยใน กรณีที่ไม่ต้องเข้าพักเป็นผู้ป่วยในต้องศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองเพิ่มเติม ซึ่งจะมีบางแบบประกันที่คุ้มครอง Day Surgery ที่หมายถึงการผ่าตัดใหญ่หรือการรักษาทดแทนผ่าตัดใหญ่ โดยไม่ต้องพักเป็นผู้ป่วยใน กับ ผ่าตัดเล็ก (Minor Surgery) เป็นการผ่าตัดระดับผิวหนังที่ต้องใช้ยาชา สามารถสอบถามเพิ่มเติมกับที่ปรึกษาการเงิน
คำถามที่พบบ่อย: ประกันโรคร้ายแรง
1. ประกันโรคร้ายแรงคืออะไร ?
เป็นประกันที่ให้เงินก้อนกับผู้เอาประกัน เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมอง ฯลฯ ตามโรคที่กำหนดในกรมธรรม์
2. ทำไมต้องมีประกันโรคร้ายแรง ?
ประกันโรคร้ายจะให้เงินก้อนตามวงเงินประกันที่เลือก เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรง สามารถเอาไว้ใช้ในยามเจ็บป่วยหนัก นำไปใช้ในการรักษาทางเลือก ปรับการใช้ชีวิตระหว่างรักษา หรือ ใช้ในการดำรงชีพหากต้องออกจากงาน เนื่องจากเจ็บป่วย
3. ประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองโรคอะไรบ้าง?
ครอบคลุมโรคร้ายแรงจำนวนมาก เช่น มะเร็ง, หัวใจ, หลอดเลือดสมอง, ไตวาย และทุพพลภาพ เป็นต้น โดยมีโรคร้ายแรงระดับรุนแรง 44 โรค และ มีโรคร้ายแรงระดับต้นถึงปานกลาง 18 โรค จะครอบคลุมโรคร้ายแรงส่วนใหญ่ที่ทางการแพทย์ตรวจพบในปัจจุบัน
4. ควรสมัครประกันโรคร้ายแรงเมื่อไหร่ ?
ควรเริ่มตั้งแต่อายุน้อยและสุขภาพแข็งแรง เบี้ยถูกกว่า และคุ้มครองได้นานขึ้น บางแบบคุ้มครองตลอดชีพ
5. ถ้ามีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ยังต้องมีประกันโรคร้ายแรงเพิ่มไหม ?
ควรมี เพราะประกันสุขภาพเป็นค่าใช้จ่ายในการักษาในโรงพยาบาลทั่วไปตามที่เกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาล โดยบริษัทประกันจะจ่ายให้กับทางโรงพยาบาล
ส่วนประกันโรคร้ายแรงจะเป็นเงินก้อนให้กับผู้เอาประกัน นำไปใช้ในการรักษาหรือตามที่ต้องการเพิ่มเติม ช่วยให้ครอบคลุมครบมากยิ่งขึ้น
6. เบี้ยประกันโรคร้ายปรับเพิ่มขึ้นตามอายุหรือไม่ ?
ประกันโรคร้ายแรงจะมีทั้งแบบเบี้ยปรับเพิ่ม และเบี้ยคงที่ตลอดสัญญา โดยแบบรายปีของแบบที่ปรับเพิ่มจะถูกกว่าแบบเบี้ยคงที่ แต่เมื่อรวมตลอดอายุสัญญาแล้ว แบบเบี้ยคงที่จะถูกกว่า จะแตกต่างกันมากถ้าเริ่มทำตั้งแต่อายุน้อย
7. ประกันโรคร้ายแรงมีเงินคืนไหม? และครบสัญญาได้รับเงินคืนหรือไม่?
ประกันโรคร้ายแรงจะไม่มีเงินคืนระหว่างสัญญา โดยประกันโรคร้ายแรงแบบเบี้ยคงที่ จะมีมูลค่าเวนคืน สามารถเวนคืนเพื่อรับเงินคืนได้เมื่อต้องการแต่ความคุ้มครองจะสิ้นสุดลงด้วย หรือ เมื่อครบกำหนดสัญญาจะได้รับเงินคืนตามที่กำหนด ส่วนแบบเบี้ยปรับเพิ่มจะไม่มีมูลค่าเวนคืน ไม่มีเงินคืนเมื่อครบกำหนด
8. ประกันสุขภาพกับประกันโรคร้ายแรงแตกต่างกันอย่างไร?
ประกันสุขภาพรองรับค่ารักษาตามจริง จ่ายให้กับโรงพยาบาล ส่วนประกันโรคร้ายแรงจะจ่ายเงินก้อนตามที่วงเงินเอาประกัน เมื่อตรวจเจอโรคร้ายแรงให้กับผู้เอาประกัน
แม้ประกันสุขภาพบางแบบจะมีการเพิ่มวงเงินคุ้มครองให้ถ้าตรวจพบโรคร้ายแรง แต่จะเป็นวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายให้กับโรงพยาบาลอยู่ดี
9. สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ?
ได้ ประกันโรคร้ายสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้บางส่วน รวมในกลุ่มประกันสุขภาพ ที่ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท
10. ประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือไม่ ?
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในแบบประกัน โดยจะมีบางแบบประกันที่คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น นอกเหนือจากโรคร้ายแรงด้วย ควรปรึกษาที่ปรึกษาการเงินเพื่อเลือกแบบประกันที่เหมาะสม
11. ซื้อประกันโรคร้ายแรงแล้วคุ้มครองทันทีเลยไหม ?
ประกันโรคร้ายแรงจะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Wating Period) หรือบางทีเรียกว่า ระยะเวลารอคอย โดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 60 วัน ยกเว้นกรณีเสียชีวิตหรือทุพลลภาพ จะคุ้มครองทันที ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
12. ประกันโรคร้ายแรงมีกรณีไหนที่ไม่คุ้มครองบ้าง ?
เงื่อนไขข้อยกเว้น จะแตกต่างกันแต่ละบริษัทประกัน โดยส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครองความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน การพยายามฆ่าตัวตาย การทำร้ายตนเอง ภายใต้ฤทธิ์สุรา เป็นต้น ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
13. ถ้ากลับมาเป็นโรคร้ายแรงซ้ำจะยังคุ้มครองอยู่หรือไม่ ?
โดยทั่วไปประกันโรคร้ายแรงจะจ่ายเงินก้อน เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรงระดับรุนแรงให้ในครั้งแรกที่เจอเท่านั้นและสัญญาจะสิ้นสุดลงทันที แต่มีประกันโรคร้ายแรงแบบใหม่ที่คุ้มครองเพิ่มขึ้น โดยจะคุ้มครองการกลับมาเป็นโรคร้ายแรงซ้ำด้วย โปรดปรึกษาที่ปรึกษาการเงิน เพื่อเลือกแบบประกันที่เหมาะสม