หยุดกังวลเรื่องเงินอย่างไร
หยุดกังวลเรื่องเงินอย่างไร?
How to stop worry about money?
เปลี่ยนมุมมองอย่างไรให้หายกังวล?
เปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไรให้จัดการเงินได้?
ถ้าคุณกำลังมีความกังวลเกี่ยวกับเงิน ลองนั่งนิ่งๆ สังเกตความกังวลที่เกิดขึ้นคืออะไร? อะไรทำให้รู้สึกกังวล? เพราะอะไรจึงกังวล?
- เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทำให้รายได้หยุด ครอบครัวจะเป็นอย่างไร?
- อายุ 40 ปีแล้ว จะเตรียมเงินเกษียณพอหรือไม่?
- ญาติเพื่อนฝูงเจ็บป่วยมีค่ารักษาจำนวนมาก ถ้าเป็นเราอาจจะรับมือไม่ไหว
- รู้สึกว่าทำงานมาตั้งนานแล้ว ยังแทบไม่มีเงินเหลือเก็บ
- จ่ายค่าเทอมลูกแต่ละครั้งต้องใช้สินเชื่อส่วนบุคคลทุกที
- มีหนี้สินที่ควบคุมไม่ได้
- ถ้ามีเหตุต้องออกจากงานกะทันหันเหมือนเพื่อนเราจะทำยังไง
วิธีการลดความกังวลมี 2 วิธีคือ ปรับวิธีคิด และปรับพฤติกรรมการเงิน
ปรับวิธีคิด
- ความกังวลไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- ฉันกำลังเผชิญกับความท้าทาย
- ทุกอย่างที่เราเคยเผชิญ มันจะผ่านพ้นไปได้
- เหตุการณ์นี้กำลังให้บทเรียนอะไรกับเรา เพื่อเป็นทรัพยากรให้เราใช้ในอนาคต
- จินตนาการถึงผลเลวร้ายที่สุดเรื่องเงินที่คุณกำลังกังวลคืออะไร
- เมื่อไรที่กังวล มักจะกลัวอนาคตที่ยังมาไม่ถึง สวดมนต์ แผ่เมตตา เพิ่มพลังงานบวก เพิ่มพลังเข้าไปในร่างกาย เปลี่ยนวิถีการคิดลบเป็นพลังงานบวก
- ความกังวลนี้กำลังบอกอะไรเรา มันกำลังเตือนให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือเตรียมการอะไร? ฟังความรู้สึกตัวเอง
ปรับพฤติกรรม
- จัดเวลา นิ่งๆ ทบทวน มีอะไรที่ต้องปรับลดความกังวล กำหนดเวลา 1-2 ชั่วโมง ก่อนวันเงินออก ทำงบประมาณรายรับรายจ่าย และอีก 1-2 ชั่วโมง วันที่เงินเดือนออก แยกเงินตามงบประมาณที่กำหนด
- ทำงบประมาณรายรับรายจ่าย งบประมาณรายจ่ายจะช่วยควบคุมการใช้จ่ายของคุณ ให้คุณรู้ตัวว่าใช้เงินไปกับอะไร และเตือนคุณก่อนที่จะใช้เงินหมด
- วางแผนการจ่ายหนี้ เมื่อไรที่ชำระหนี้หมด จะรู้สึกถึงอิสรภาพในทันที จัดเวลาทบทวนรายการหนี้สินทั้งหมดและยอดคงเหลือ วางแผนการผ่อนให้หนี้หมดเร็วขึ้น
- เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน ควรเตรียม 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน สำรองไว้นิ่งๆ เงินสำรองฉุกเฉินนี้จะช่วยลดความเครียดกดดัน เพราะจะนำมาแก้ปัญหาได้ทันที กรณีมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ปกติเกิดขึ้น หรือกรณีออกจากงานกะทันหัน
- หารายได้หลายทาง หารายได้หลายทางจะช่วยให้ลดความกดดัน เมื่องานหนึ่งมีปัญหา ยังคงมีรายได้จากงานอื่นที่ยังราบรื่นอยู่
- ทำให้การจัดการเงินง่ายขึ้น เช่น มีบัตรเครดิตแค่ 1-2 ใบ มีมากทำให้เราจัดการยาก
- ใช้ระบบชำระเงินออมอัตโนมัติ เช่น การชำระค่าบัตรเครดิต การจ่ายค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเดือนพวกค่าน้ำค่าไฟค่าโทรศัพท์ การซื้อกองทุนรวมลดหย่อนภาษี ใช้ระบบซื้ออัตโนมัติ
- ตัดรายการของใช้ฟุ่มเฟือย ความกังวลเรื่องเงินกระทบกับประสิทธิภาพการทำงานของคุณ ดังนั้นของใช้บางอย่างที่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ ควรพิจารณาตัดออก เช่น ขับรถไปหาที่ทานอาหารไกลๆ ทุกมื้อ, โทรศัพท์มือถือเลือกคุณสมบัติตามที่ต้องใช้
ที่จริงนิสัยที่ชอบกังวลเรื่องเงินเป็นสิ่งที่ห้ามยาก อาจจะเป็นประสบการณ์ในอดีต หรืออาจจะเกิดจากเราไม่รู้ว่าเงินเราหายไปไหนหมด และไม่รู้สถานะการเงินที่แท้จริงในปัจจุบันของตัวเอง สิ่งที่ทำได้คือ ปรับวิธีคิดมุมมอง และปรับพฤติกรรม จัดเวลาทบทวน เตรียมการต่างๆ ตามที่แนะนำข้างต้น
อยากหยุดความกังวลเรื่องเงิน มาสัมมนากับเราสิ
ลงทะเบียนสำรองที่นั่งสัมมนา เราจะแจ้งวันและสถานที่อีกครั้ง
- ทำงาน 10 ปี ไม่มีเงินเก็บ แกะรอยเงินฉันหายไปไหน ทำงานมาหลายปี ไม่ได้ฟุ่มเฟือยอะไร เงินหายไปไหนหมด? อยากจะจัดการเงินให้เป็นระบบ จะเริ่มยังไงดี? ปัจจุบั...
- ลงทุนอย่างไรให้ถึงเป้าหมาย? 1 ล้านแรกสร้างได้ไม่ยาก ล้านแรกสร้างได้...ล้านต่อไปจะตามมา การออมให้เงินเติบโตเป็น 1 ล้านบาทได้ สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ 1. ออมสม่ำเสมอต่อเนื่อง ลง...
- เกษียณ...เตรียมเงินเท่าไรจึงจะพอ? ควรเตรียมเท่าไรก่อนเกษียณจึงจะมีอิสรภาพหลังเกษียณ? สำรวจแหล่งเงินได้หลังเกษียณมีเตรียมอะไรไว้แล้วบ้าง? “เงินไม่พอใช้หลังเกษียณ” เป็นปัญหาที่เกิด...
- ปีหน้าเกษียณแล้ว เงินออมที่มีอยู่จะพอมั้ย? เงินที่ได้รับหลังเกษียณที่มีอยู่จะพอมั้ย? จะลงทุนอะไรดีให้เงินงอกเงย? หลายคนเริ่มตั้งคำถามนี้เมื่อใกล้ถึงวันเกษียณอย่างจริงจัง “เงินออมท...
- ถ้าคุณไม่อยู่ คนข้างหลังจะอยู่อย่างไร? Family Protection หากวันนี้จากไป มีใครรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายครอบครัวแทนได้บ้าง? หากวันนี้จากไป มีใครบ้างที่ได้รับผลกระทบ? เคยคิดไหมครับ…ถ...
- วางแผนการเงิน ทำแล้วได้อะไร? เตรียมความพร้อมการเงิน เพื่อรักษาระดับมาตรฐานการครองชีพทุกช่วงของชีวิต ในยุคที่ชีวิตเร่งรีบ ค่าครองชีพสูง รายได้ไม่แน่นอน ต้องเพิ่มรายได้ให้มีหลายทา...
- ทำไมต้องวางแผนการเงิน ใครเป็นแบบนี้บ้าง...เงินเดือนมากขึ้น ซื้อรถ ซื้อบ้าน ซื้อคอนโดฯ การแข่งขันสูงขึ้น จึงต้องส่งให้ลูกเรียนในสถาบันการศึกษาที่ติดอันดับ วันหยุดพาลูกเรียนพิเศ...
- ตรวจสอบสถานการณ์เงิน สถานะการเงินที่มีโอกาสประสบปัญหาการเงินหรือกำลังมีปัญหาซึ่งจะพบคนรอบ ๆ ตัวเรามี4สถานการณ์ ได้แก่พึ่งพาการเงินผู้อื่น,มีหนี้ ไม่มีเงินเก็บ,ไม่มีหนี้แต่ไ...
- การเงินมิติของอารมณ์ความรู้สึก สถานะการเงินเป็นอย่างไร นอกจากความรู้การเงินแล้ว สิ่งที่มีอิทธิพลสูงกว่าคือ ความเชื่อทางสังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม การถูกเลี้ยงดู และประสบการณ์ ส...
- ชะตาชีวิตลิขิตได้ ไม่ว่าสถานการณ์การเงินปัจจุบันจะเป็นอย่างไรก็ตามไม่มีผิดไม่มีถูก ที่ผ่านมาเป็นเพียงปรากฏการณ์ มาทำความรู้จักกับกลไกธรรมชาติที่มีในทุกคน โดยธรรมชาติของ...
- ทักษะการเงินไปสู่อิสรภาพการเงิน หลังจากเราทราบแล้วว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์การเงินแบบใด ต่อไปคือการเข้ากระบวนการวางแผนการเงินเพื่อไปสู่อิสรภาพการเงิน ในกระบวนการอาจจะจำเป็นต้...
- กระบวนการวางแผนการเงิน หลักการในกระบวนการวางแผนการเงิน ประกอบด้วย 3 เรื่องหลัก ๆ คือ รายได้ รายจ่าย และการลงทุนเมื่อทราบแล้วว่าเรามีสถานะการเงินแบบไหน เรามาเข้ากระบวนการที...
- การควบคุมรายจ่าย กระบวนการวางแผนการเงินมีกลไกคุมรายจ่ายกันยังไง...ไม่ให้เพิ่มตามรายได้ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ตัวว่ารายจ่ายเพิ่มตามรายได้ อาจจะรู้สึกชีวิตสะดวกสบายขึ้น หรือนับวันอ...
- Budgeting เสาเข็มแรก การทำงบประมาณหรือ Budgeting ศัพท์ดูหรู ที่รู้จักในการทำงบประมาณรายจ่ายบริษัท ดูเป็นทางการทำให้หลายคนรู้สึกว่าไกลตัว การทำงบประมาณ เป็นกำหนดตัวเลขประมาณการท...
- เงินสำรองฉุกเฉิน เงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash)เสาเข็มคู่เสาหลัก ถ้าเราเพิ่งเริ่มวางแผนการเงิน และยังไม่มีการกันเงินสำรองฉุกเฉินเลย แนะนำให้ตั้งเป้าหมายเตรียมเงินสำรองฉุกเฉิ...
- กฎ 72 การหาระยะเวลาที่เงินจะเติบโตเป็น 2 เท่า ในอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดหรือคำนวณหาผลตอบแทนที่ต้องการเงินเติบโตเป็น 2 เท่าในระยะเวลาที่ต้องการ สูตร72/อัตราผลตอบแทนที่กำหนด ...
- พลังดอกเบี้ยทบต้น “The most powerful force in the universe is compound interest.” พลังที่ทรงพลังมากที่สุดในจักรวาลคือพลังดอกเบี้ยทบต้น กล่าวโดย “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ดอกเบ...