ประกันสุขภาพและประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง

ประกันสุขภาพและประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง

   การบริหารรายจ่ายควบคุมให้สม่ำเสมอได้ และเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว แผนถัดไป คือ แผนป้องกันค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่เกินกว่าเงินสำรองฉุกเฉินจะแก้ปัญหาได้  ในแผนการเงินจึงใช้ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง เป็นค่าใช้จ่ายหลักหมื่นป้องกันการถอนเงินออมมาจ่ายเป็นหลักแสนหลักล้าน จะช่วยให้แผนการเงินเป็นไปตามที่ตั้งใจ

 

ตัวอย่าง

1)  แผนประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายคุ้มครอง 5 ล้านบาทต่อปี เพศชาย อายุ 40 ปี เบี้ยประกันปีละ 20,800 บาท*


2)  แผนคุ้มครอง 40 โรคร้ายแรงต่อเนื่อง (พบระยะรุนแรง เจอ จ่าย จบ) คุ้มครองวงเงิน 1,000,000 บาท เพศชาย อายุ 40 ปี เบี้ยประกันปีละ 6,640 บาท*

*เบี้ยปรับตามอายุ

3) แผนคุ้มครอง 40 โรคร้ายแรงต่อเนื่อง แบบคุ้มครองตลอดชีพชำระเบี้ย 20 ปี คุ้มครอง 1,000,000 บาท พบระยะเริ่มต้นถึงปานกลางจ่าย 200,000 บาท, พบระยะรุนแรงครั้งแรกจ่าย 1,000,000 บาท เพศชาย อายุ 40 ปี เบี้ยประกันคงที่ปีละ 47,612 บาทต่อปี

 

 สนใจประสุขภาพและโรคร้ายแรง 

หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้ฟรี

FAQ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

คำถามที่พบบ่อย: ประกันสุขภาพ

1. ประกันสุขภาพคืออะไร ?
คือประกันที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เมื่อเข้าทำการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน (IPD) หรือรักษาผู้ป่วยนอก (OPD)
2. ประกันสุขภาพ ผู้ป่วยใน (IPD) หรือรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) ต่างกันอย่างไร ?
ผู้ป่วยใน (IPD) คุ้มครองเมื่อพักในโรงพยาบาลตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนผู้ป่วยนอก (OPD) ใช้เมื่อตรวจผู้ป่วยนอก พบแพทย์และกลับบ้านได้ ไม่ต้องเข้าพักในโรงพยาบาล
3. เบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอะไร ?
ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ประวัติสุขภาพ วงเงินเอาประกัน และความคุ้มครองของแต่ละแบบประกัน
4. เบี้ยขึ้นตามอายุหรือไม่ ?
ประกันสุขภาพทั่วไปเบี้ยจะเพิ่มตามช่วงอายุ ยกเว้นประกันแบบ UDR ที่ต้องซื้อคู่กับประกันควบการลงทุน (Unit-Linked)
5. ต้องตรวจสุขภาพก่อนสมัครไหม ?
ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของแต่ละบุคคล ถ้าสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีประวัติเจ็บป่วย ส่วนใหญ่จะไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ
6. ถ้าเป็นโรคก่อนซื้อกรมธรรม์ จะคุ้มครองไหม ?
โรคเรื้อรังหรือที่เป็นมาก่อนจะถูกยกเว้น หรือไม่รับความคุ้มครอง จนกว่าจะรักษาโรคนั้นหายดีแล้ว
7. ประกันสุขภาพครอบคลุมอะไรบ้าง?
ครอบคลุมการรักษาในโรงพยาบาล เช่น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าแพทย์ ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และค่าผ่าตัด โดยจะขึ้นอยู่ตามวงเงินและแบบประกันที่เลือก โปรดศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของแบบประกัน หรือปรึกษาที่ปรึกษาการเงิน
8. ประกันสุขภาพคุ้มครอง COVID-19 หรือไม่?
โดยทั่วไปประกันสุขภาพครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทุกโรค โดยจะพิจารณาตามความจำเป็นทางการแพทย์ในการเข้ารักษาพยาบาล ถ้าแพทย์มีความเห็นว่าจำเป็นต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลและมีอาการตามเงื่อนไขที่กำหนดอย่างน้อย 1 ข้อ จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
9. ทำประกันผู้ป่วยนอก (OPD) คุ้มไหม ?
ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และความกังวลของแต่ละคน โดยประกันที่มีผู้ป่วยนอก (OPD) มักจะมีค่าเบี้ยที่เพิ่มขึ้นกว่าปกติ บางคนจึงเลือกแบบที่ไม่มีผู้ป่วยนอก (OPD) เนื่องจากเป็นค่ารักษาเล็กน้อยหรือสามารถเบิกจากสวัสดิการอื่นได้
10. ประกันครอบคลุมโรงพยาบาลใดบ้าง ?
การเข้ารักษาในโรงพยาบาล สามารถเบิกค่ารักษาตามความคุ้มครองได้ทุกโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลในเครือข่ายของบริษัทประกันจะมีความสะดวกในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมากกว่า อาจไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ถ้าโรงพยาบาลไม่ได้อยู่ในเครือข่าย จะสามารถนำเอกสารมาเบิกค่ารักษาภายหลังได้เช่นกัน
11. ค่าเบี้ยเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ?
ขึ้นอยู่กับงบประมาณแลความกังวลของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 10-15% ของรายได้ เพื่อไม่ให้เกิดภาระหนักเกิน
12. สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?
ได้ ประกันสุขภาพสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท
13. ควรเลือกประกันแบบใดให้เหมาะกับเรา ?
ควรเลือกประเมินตามความเสี่ยงของแต่ละคน ประกอบกับรายได้ ภาระค่าใช้จ่าย และการวางแผนการเงินรวม ทั้งนี้ปรึกษาที่ปรึกษาการเงินเพื่อวางแผนให้ครอบคลุมและคุ้มค่า
14. ซื้อประกันสุขภาพแล้วคุ้มครองทันทีเลยไหม ?
ประกันสุขภาพจะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Wating Period) หรือบางทีเรียกว่า ระยะเวลารอคอย การเจ็บป่วยในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 30 วัน ยกเว้นบางโรคจะเป็น 120 วัน เช่น ไส้เลื่อน ต้อกระจก ต้อเนื้อ การตัดทอมซิล และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
15. ประกันสุขภาพมีกรณีไหนที่ไม่คุ้มครองบ้าง ?
เงื่อนไขข้อยกเว้น จะแตกต่างกันแต่ละบริษัทประกัน โดยส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครองความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน การรักษาเพื่อความสวยงาม โรคหรือสภาวะเกี่ยงกับการตั้งครรภ์ เป็นต้น ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
16. การผ่าตัดและส่องกล้อง ที่ไม่ต้องเป็นผู้ป่วยในคุ้มครองไหม ?
ประกันสุขภาพจะคุ้มครองการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยใน กรณีที่ไม่ต้องเข้าพักเป็นผู้ป่วยในต้องศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองเพิ่มเติม ซึ่งจะมีบางแบบประกันที่คุ้มครอง Day Surgery ที่หมายถึงการผ่าตัดใหญ่หรือการรักษาทดแทนผ่าตัดใหญ่ โดยไม่ต้องพักเป็นผู้ป่วยใน กับ ผ่าตัดเล็ก (Minor Surgery) เป็นการผ่าตัดระดับผิวหนังที่ต้องใช้ยาชา สามารถสอบถามเพิ่มเติมกับที่ปรึกษาการเงิน

คำถามที่พบบ่อย: ประกันโรคร้ายแรง

1. ประกันโรคร้ายแรงคืออะไร ?
เป็นประกันที่ให้เงินก้อนกับผู้เอาประกัน เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมอง ฯลฯ ตามโรคที่กำหนดในกรมธรรม์
2. ทำไมต้องมีประกันโรคร้ายแรง ?
ประกันโรคร้ายจะให้เงินก้อนตามวงเงินประกันที่เลือก เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรง สามารถเอาไว้ใช้ในยามเจ็บป่วยหนัก นำไปใช้ในการรักษาทางเลือก ปรับการใช้ชีวิตระหว่างรักษา หรือ ใช้ในการดำรงชีพหากต้องออกจากงาน เนื่องจากเจ็บป่วย
3. ประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองโรคอะไรบ้าง?
ครอบคลุมโรคร้ายแรงจำนวนมาก เช่น มะเร็ง, หัวใจ, หลอดเลือดสมอง, ไตวาย และทุพพลภาพ เป็นต้น โดยมีโรคร้ายแรงระดับรุนแรง 44 โรค และ มีโรคร้ายแรงระดับต้นถึงปานกลาง 18 โรค จะครอบคลุมโรคร้ายแรงส่วนใหญ่ที่ทางการแพทย์ตรวจพบในปัจจุบัน
4. ควรสมัครประกันโรคร้ายแรงเมื่อไหร่ ?
ควรเริ่มตั้งแต่อายุน้อยและสุขภาพแข็งแรง เบี้ยถูกกว่า และคุ้มครองได้นานขึ้น บางแบบคุ้มครองตลอดชีพ
5. ถ้ามีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ยังต้องมีประกันโรคร้ายแรงเพิ่มไหม ?
ควรมี เพราะประกันสุขภาพเป็นค่าใช้จ่ายในการักษาในโรงพยาบาลทั่วไปตามที่เกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาล โดยบริษัทประกันจะจ่ายให้กับทางโรงพยาบาล ส่วนประกันโรคร้ายแรงจะเป็นเงินก้อนให้กับผู้เอาประกัน นำไปใช้ในการรักษาหรือตามที่ต้องการเพิ่มเติม ช่วยให้ครอบคลุมครบมากยิ่งขึ้น
6. เบี้ยประกันโรคร้ายปรับเพิ่มขึ้นตามอายุหรือไม่ ?
ประกันโรคร้ายแรงจะมีทั้งแบบเบี้ยปรับเพิ่ม และเบี้ยคงที่ตลอดสัญญา โดยแบบรายปีของแบบที่ปรับเพิ่มจะถูกกว่าแบบเบี้ยคงที่ แต่เมื่อรวมตลอดอายุสัญญาแล้ว แบบเบี้ยคงที่จะถูกกว่า จะแตกต่างกันมากถ้าเริ่มทำตั้งแต่อายุน้อย
7. ประกันโรคร้ายแรงมีเงินคืนไหม? และครบสัญญาได้รับเงินคืนหรือไม่?
ประกันโรคร้ายแรงจะไม่มีเงินคืนระหว่างสัญญา โดยประกันโรคร้ายแรงแบบเบี้ยคงที่ จะมีมูลค่าเวนคืน สามารถเวนคืนเพื่อรับเงินคืนได้เมื่อต้องการแต่ความคุ้มครองจะสิ้นสุดลงด้วย หรือ เมื่อครบกำหนดสัญญาจะได้รับเงินคืนตามที่กำหนด ส่วนแบบเบี้ยปรับเพิ่มจะไม่มีมูลค่าเวนคืน ไม่มีเงินคืนเมื่อครบกำหนด
8. ประกันสุขภาพกับประกันโรคร้ายแรงแตกต่างกันอย่างไร?
ประกันสุขภาพรองรับค่ารักษาตามจริง จ่ายให้กับโรงพยาบาล ส่วนประกันโรคร้ายแรงจะจ่ายเงินก้อนตามที่วงเงินเอาประกัน เมื่อตรวจเจอโรคร้ายแรงให้กับผู้เอาประกัน แม้ประกันสุขภาพบางแบบจะมีการเพิ่มวงเงินคุ้มครองให้ถ้าตรวจพบโรคร้ายแรง แต่จะเป็นวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายให้กับโรงพยาบาลอยู่ดี
9. สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ?
ได้ ประกันโรคร้ายสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้บางส่วน รวมในกลุ่มประกันสุขภาพ ที่ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท
10. ประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือไม่ ?
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในแบบประกัน โดยจะมีบางแบบประกันที่คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น นอกเหนือจากโรคร้ายแรงด้วย ควรปรึกษาที่ปรึกษาการเงินเพื่อเลือกแบบประกันที่เหมาะสม
11. ซื้อประกันโรคร้ายแรงแล้วคุ้มครองทันทีเลยไหม ?
ประกันโรคร้ายแรงจะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Wating Period) หรือบางทีเรียกว่า ระยะเวลารอคอย โดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 60 วัน ยกเว้นกรณีเสียชีวิตหรือทุพลลภาพ จะคุ้มครองทันที ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
12. ประกันโรคร้ายแรงมีกรณีไหนที่ไม่คุ้มครองบ้าง ?
เงื่อนไขข้อยกเว้น จะแตกต่างกันแต่ละบริษัทประกัน โดยส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครองความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน การพยายามฆ่าตัวตาย การทำร้ายตนเอง ภายใต้ฤทธิ์สุรา เป็นต้น ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
13. ถ้ากลับมาเป็นโรคร้ายแรงซ้ำจะยังคุ้มครองอยู่หรือไม่ ?
โดยทั่วไปประกันโรคร้ายแรงจะจ่ายเงินก้อน เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรงระดับรุนแรงให้ในครั้งแรกที่เจอเท่านั้นและสัญญาจะสิ้นสุดลงทันที แต่มีประกันโรคร้ายแรงแบบใหม่ที่คุ้มครองเพิ่มขึ้น โดยจะคุ้มครองการกลับมาเป็นโรคร้ายแรงซ้ำด้วย โปรดปรึกษาที่ปรึกษาการเงิน เพื่อเลือกแบบประกันที่เหมาะสม