กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD) 

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD) คืออะไร?
   กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD) เป็นการออมภาคสมัครใจ เพื่อเก็บเงินสำหรับเกษียณ ที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันทางการเงินหลังเกษียณให้กับลูกจ้าง ลูกจ้างจะจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนเป็นรายเดือน และ นายจ้างจะจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม โดยเงินทั้งหมดจะถูกนำไปลงทุนและเติบโตตามระยะเวลา

หลักการทำงานของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD)

1. การออมเงินผ่าน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD)

  • ลูกจ้างต้องเลือกอัตราการออม ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน
  • นายจ้างจะจ่ายเงินสมทบ ตามเงื่อนไขของบริษัท
  • เงินสะสมทั้งหมดจะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายที่ลูกจ้างเลือก

2. การลงทุนของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD)

  • กองทุนจะลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น หุ้น พันธบัตร เงินฝาก หรือกองทุนรวม
  • ลูกจ้างสามารถ เลือกนโยบายการลงทุน ให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเอง กรณีที่นายจ้างมีนโยบายการลงทุนให้เลือก

 

ข้อดีของการมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD)
✅ ออมเงินอย่างมีวินัย การมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD) ช่วยให้เรามีเงินออมระยะยาวอย่างเป็นระบบ
✅ นายจ้างช่วยออมเงินให้ เงินสมทบจากนายจ้างถือเป็น ผลประโยชน์เพิ่มเติม ที่ช่วยให้เงินออมเติบโตเร็วขึ้น
✅ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เงินสะสมสามารถ นำไปลดหย่อนภาษีได้ เงินสมทบจากนายจ้าง ไม่ต้องเสียภาษีทันที แต่จะถูกหักภาษีเมื่อถอนออกก่อนกำหนด
✅ โอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน เงินในกองทุนถูกนำไปลงทุนเพื่อให้ได้ ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินทั่วไป

 

การถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD)
เมื่อออกจากงานหรือเกษียณ เราสามารถเลือก วิธีรับเงิน ได้ดังนี้:
✅ ถอนเงินก้อน - เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินทันที
✅ ทยอยรับเงิน - ลดภาระภาษีและจัดการเงินได้ง่ายขึ้น
✅ โอนเงินไป RMF for PVD - เพื่อลดภาระภาษีและให้เงินลงทุนเติบโตต่อ

ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อถอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund - PVD)

  • เงินสะสม (ลูกจ้างจ่ายเอง) ➝ ไม่ต้องเสียภาษี
  • เงินสมทบ (นายจ้างให้) ➝ เสียภาษีเมื่อถอนออก กรณีอายุน้อยกว่า 55 ปีและเป็นสมาชิกน้อยกว่า 5 ปี

การคำนวณภาษีเมื่อถอน PVD ก่อนอายุ 55 ปี

  • เสียภาษี 3 ส่วนคือ ผลประโยชน์เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์เงินสมทบ
  • อายุงานน้อยกว่า 5 ปี ต้องนำเงิน 3 ส่วนไปรวมกับรายได้ประจำปีเสียภาษีรวม
  • อายุงานมากกว่า 5 ปี สามารถเลือกที่จะแยกยื่นได้ โดยจะมีค่าลดหย่อน ตามอายุงาน * 7000 และนำมาหารครึ่ง เพื่อใช้คำนวณภาษี

เคล็ดลับบริหาร PVD ให้คุ้มค่าที่สุด
✅ เลือกอัตราออมเงินสูงสุดเท่าที่ไหว เพื่อให้ได้รับเงินสมทบสูงสุดจากนายจ้าง
✅ เลือกนโยบายการลงทุนให้เหมาะกับอายุและความเสี่ยง
✅ หากออกจากงาน ให้โอนเงินไป RMF for PVD แทนการถอนก้อน เพื่อลดภาษี

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณ

หากใช้ให้ถูกวิธี จะช่วยให้คุณมี เงินก้อนใหญ่ พร้อมใช้ในอนาคตยามเกษียณ

 

สนใจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ ฟรี

FAQ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

คำถามที่ HR/ผู้บริหารต้องรู้ ก่อนตัดสินใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) คืออะไร?
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) เป็นสวัสดิการภาคสมัครใจ ที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้ง เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ ลาออกจากงาน ทุพพลภาพ และเป็นหลักประกันให้กับครอบครัวในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต มีเงินสะสมของลูกจ้างกับเงินสมทบจากนายจ้าง โดยมีการลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผลอย่างต่อเนื่องระยะยาว
2. การจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) กฎหมายบังคับสำหรับองค์กรหรือไม่?
ไม่ได้บังคับตามกฎหมาย แต่เป็น “กลยุทธ์สวัสดิการ” ที่องค์กรชั้นนำใช้เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานคุณภาพ เสริมสร้างภาพลักษณ์บริษัท และช่วยสร้างระบบเงินออมเพื่ออนาคตให้พนักงาน
3. บริษัทต้องมีต้นทุนอะไรบ้างหากจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund)?
• ค่าจัดตั้งจ่ายตอนจัดตั้งครั้งเดียว • เงินสมทบของนายจ้าง (2%–15% ของเงินเดือนพนักงาน ขึ้นอยู่กับข้อบังคับกองทุนตามนโยบายบริษัท) • ค่าทะเบียนสมาชิก (บางบริษัทจัดการไม่เรียกเก็บ) • เวลาและทรัพยากรในการจัดการข้อมูล ส่งเงิน และดูแลระบบ
4. บริษัทได้ประโยชน์อะไรจากการจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund)?
• เงินสมทบหักเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ตามจริง • เพิ่มแรงจูงใจ ความผูกพันของพนักงาน และลดอัตราการหมุนเวียนเข้าออกงาน • สร้าง Employer Branding เสริมภาพลักษณ์องค์กร สะท้อนความมั่นคง และความใส่ใจอนาคตพนักงาน • สร้างวินัยการเงินให้บุคลากร ลดปัญหาทางการเงินส่วนตัว
5. ขั้นตอนการจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) ยุ่งยากหรือไม่?
ไม่ยุ่งยากเมื่อทำร่วมกับบริษัทจัดการ โดยมีขั้นตอนหลัก เช่น: 1. เลือกบริษัทจัดการ 2. แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วยผู้แทนนายจ้าง และผู้แทนลูกจ้าง อย่างน้อยฝ่ายละ 1 ท่าน 3. จัดทำข้อบังคับกองทุนโดยคณะกรรมการกองทุน 4. ยื่นขอจดทะเบียนกับนายทะเบียน (สำนักงาน ก.ล.ต.) 5. สื่อสารประชาสัมพันธ์และอบรมพนักงาน 6. เริ่มดำเนินการจริง
6. บริษัทต้องมีพนักงานขั้นต่ำกี่คนจึงจัดตั้งได้?
โดยทั่วไปไม่มีจำนวนขั้นต่ำชัดเจน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัทและความร่วมมือจากพนักงาน
7. พนักงานสามารถเลือกแผนการลงทุนเองได้หรือไม่?
ได้ ถ้าข้อบังคับกองทุนที่จัดทำขึ้น เป็นแบบหลายนโยบาย (Employee’s Choice) โดยพนักงานสามารถเลือกแผนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของตนเอง เช่น ตราสารหนี้ หุ้น ทองคำ
8. เงินกองทุนสามารถขาดทุนได้หรือไม่?
มีโอกาสขาดทุนได้ เนื่องจากนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย ได้แก่ ตราสารหนี้, ตราสารทุน, ทองคำ ฯลฯ โดยการจัดพอร์ตการลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่เพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว ทั้งนี้การจัดทำข้อบังคับรวมกับบริษัทจัดการ มีนโยบายให้เลือก มักจะมีนโยบายความเสี่ยงต่ำโอกาสขาดทุนน้อย แต่ผลตอบแทนระยะยาวสู้อัตราเงินเฟ้อไม่ได้
9. หากพนักงานลาออก ก่อนกำหนดที่จะได้รับเงินสมทบของนายจ้างทั้งหมดจะต้องทำอย่างไร?
พนักงานจะได้รับเงินสมสมตัวเองคืนทั้งหมดพร้อมผลประโยชน์ (ผลตอบแทนการลงทุน) ส่วนเงินสมทบจากนายจ้างให้พนักงานตามอายุงานที่อยู่ในข้อบังคับกองทุน กรณีที่ไม่ได้ให้พนักงานทั้งหมด เงินสมทบส่วนที่เหลือจะจ่ายคืนให้กับนายจ้าง โดยนายจ้างนำเงินสมทบและผลประโยชน์ ส่วนที่ได้รับคืนรวมเป็นเงินได้ยื่นภาษีประจำปี
10. หากบริษัทจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) แล้ว จะยกเลิกได้หรือไม่?
สามารถยกเลิกได้ กรณี 1) นายจ้างเลิกกิจการ 2) ที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก 3) กรณีมีข้อบังคับของกองทุนกำหนดให้เลิก 4) นายทะเบียนสั่งให้เลิกกองทุน
11. มีทางเลือกอื่นนอกจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) หรือไม่?
มี หากทำตามข้อบังคับกฎหมายนำเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง อัตรา 0.25% ของรายได้ (1 ต.ค. 2568 - ก.ย. 2573) และ อัตรา 0.50% ของรายได้ (1 ต.ค. 2573 เป็นต้นไป) นำส่ง สำนักงานกองทุนเงินสมเคราะห์ลูกจ้าง สังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ทั้งนี้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันทางการเงินให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ต้องออกจากงาน หรือประสบเหตุฉุกเฉิน ซึ่งไม่ตอบโจทย์เงินออมหลังเกษียณอายุ
12. องค์กรอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันมีการจัดตั้งหรือไม่?
บริษัทขนาดกลาง–ใหญ่ รวมถึงองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมจำนวนมากได้จัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) แล้ว เพราะถือเป็นมาตรฐานด้านสวัสดิการและการดูแลพนักงานที่ได้รับการยอมรับ ทำให้องค์กรที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นที่ต้องการของพนักงานมากกว่าองค์กรที่ไม่มี

คำถามที่พนักงานอยากรู้เกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund)

1. ฉันจะต้องจ่ายเงินเข้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) เท่าไร? แล้วบริษัทสมทบให้เท่าไร?
พนักงานสามารถเลือกอัตราสะสมได้ 2 - 15% ของเงินเดือน (แล้วแต่บริษัทกำหนดช่วงให้เลือก) ส่วนบริษัทจะสมทบเพิ่มตามข้อบังคับกองทุน ซึ่งอัตราสมทบอยู่ในช่วง 2 - 15% มี 4 แบบ ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัทตอนเขียนข้อบังคับกองทุน 1) สมทับอัตราเท่ากันทั้งบริษัท เช่น 5% เท่ากันทุกคน 2) สมทบอัตราเท่ากับเงินสะสมที่พนักงานเลือก เช่น พนังงานเลือกสะสมอัตรา 5% บริษัทสมทบให้อัตรา 5% 3) สมทบอัตราเพิ่มขึ้นตามอายุงาน เช่น ทำงานน้อยกว่า 5 ปี สมทบอัตรา 5%, ทำงาน 10 ปีขึ้นไปสมทบอัตรา 10% 4) สมทบอัตราตามตำแหน่งงาน เช่น พนักงานสมทบ 3%, ผู้จัดการสมทบ 5% ฯลฯ
2. เปลี่ยนอัตราสะสม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) ได้หรือไม่?
ได้ โดยทั่วไปบริษัทจะเปิดให้เปลี่ยนอัตราสะสมได้ปีละ 1–2 ครั้ง ต้องแจ้งความประสงค์ในช่วงเวลาที่กำหนด
3. เงินในกองทุนไปลงทุนอะไร? มีความเสี่ยงหรือไม่?
เงินจะถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น พันธบัตร หุ้น กองทุนรวม แล้วแต่แผนที่พนักงานเลือก แผนที่เสี่ยงต่ำจะให้ผลตอบแทนน้อยแต่ปลอดภัย ส่วนแผนเสี่ยงสูงอาจได้ผลตอบแทนมากแต่ผันผวนกว่า
4. สามารถเลือกแผนการลงทุนได้ไหม? เปลี่ยนได้หรือไม่?
สามารถเลือกได้ตามแผนที่บริษัทและ บลจ. กำหนด โดยเปลี่ยนแปลงได้ตามรอบที่กำหนด เช่น ทุกไตรมาส หรือปีละ 1–2 ครั้ง
5. ถ้าฉันลาออกจากงาน จะได้เงินคืนทั้งหมดหรือไม่?
• เงินสะสมของคุณและผลประโยชน์เงินสะสม (ผลตอบแทนการลงทุน) ได้คืนทั้งหมด 100% • เงินสมทบของบริษัทและผลประโยชน์เงินสมทบ ได้ตามเงื่อนไข เช่น อายุงาน 1 ปีได้ 25%, 5 ปีขึ้นไปได้ 100% (ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของกองทุนแต่ละแห่ง)
6. เงินที่ได้รับตอนลาออก ต้องเสียภาษีหรือไม่?
• ลาออกก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุน น้อยกว่า 5 ปี : นำเงินผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบรวมกับเงินได้ยื่นภาษีเงินได้ • ลาออกก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุน ไม่น้อยกว่า 5 ปี เลือกได้ จะนำเงินผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบรวมกับเงินได้ยื่นภาษีเงินได้ หรือแยกยื่นในใบแนบ • ออกจากงานเมื่ออายุเกิน 55 ปี และอยู่ในกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับ ยกเว้นภาษี
7. เงินในกองทุนสามารถถอนระหว่างทำงานได้หรือไม่?
ได้ ต้องเสียภาษีตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด แต่จะทำให้เงินออมในยามเกษียณอายุลดลง
8. ถ้าฉันเสียชีวิตก่อนเกษียณ เงินจะตกทอดให้ใคร?
เงินจะให้กับผู้รับประโยชน์ระบุไว้ในหนังสือแจ้งรายชื่อผู้รับผลประโยชน์ระบุได้มากกว่า 1 คน และกำหนดสัดส่วนได้ หากไม่ระบุ กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกำหนดให้เงินในส่วนดังกล่าวตกเป็นของบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ บุตร สามี หรือภรรยา และบิดามารดา
9. ฉันจะติดตามยอดเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund)ได้จากที่ไหน?
สามารถดูยอดเงินสะสม ผลตอบแทน และแผนการลงทุนผ่านระบบออนไลน์ของบริษัทจัดการกองทุน
10. เงินที่ได้รับจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) ตอนเกษียณจะพอใช้หรือไม่?
ขึ้นอยู่กับอัตราสะสม ระยะเวลาการลงทุน และแผนที่เลือก หากต้องการเกษียณมั่นคง ควรสะสมในระดับที่เหมาะสม และวางแผนร่วมกับการออมแบบอื่น
11. ถ้ามีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับกองทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) ควรติดต่อใคร?
สามารถติดต่อฝ่าย HR หรือผู้ดูแลกองทุนในองค์กร หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทจัดการที่ดูแลกองทุนของบริษัท
12. กองทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) ต่างจาก กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF- Retirement Mutal Fund) หรือประกันชีวิตอย่างไร?
• กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) : มีบริษัทสมทบร่วมด้วย หักอัตโนมัติจากเงินเดือน มีแผนการลงทุนตามข้อบังคับกองทุนให้เลือก จำกัดกว่า RMF • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF- Retirement Mutal Fund): เป็นเงินของพนักงานฝ่ายเดียว ไม่มีเงินสมทบจากนายจ้าง มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายกว่า • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD – Provident Fund) เป็นเงินออมไม่มีทุนประกันชีวิต ส่วนประกันชีวิต ถ้าเสียชีวิตจะจ่ายทุนประกันชีวิตให้ผู้รับประโยชน์ที่ระบุในกรมธรรม์